ส่งมอบบริการที่น่าประทับใจ พร้อมเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัว

 
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในมิติความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และโลกออนไลน์ คนจำนวนมากหันมาทำงานจากที่บ้านและใช้ช่องทางออนไลน์ในการติดต่อสื่อสารและเข้าถึงบริการพื้นฐานต่างๆ เพื่อให้ชีวิตยังดำเนินต่อไปได้ปกติ แต่ขณะเดียวกันกระแสดังกล่าวก็นำมาสู่ข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นด้วย
 
ภายใต้ความท้าทายเหล่านี้ ดีแทคเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของลูกค้า ผ่านการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลและ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 (PDPA) ของประเทศไทย และเรามีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งในการพัฒนาสินค้าและบริการโดยยึดหลักความเป็นส่วนตัวเป็นสำคัญ (privacy by design) เพื่อส่งมอบบริการที่ตอบโจทย์ ปลอดภัย และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ไม่ว่าพนักงานของเราจะทำงานจากที่ใดก็ตาม

 

รู้หรือไม่! แค่ปรับจอให้เป็นขาวดำก็ประหยัดพลังงานไปถึง 20% คุณก็มีส่วนในการช่วยลดสภาวะอากาศรวนได้!

สิทธิความเป็นส่วนตัวในยุคแห่งข้อมูล

จากการสำรวจของ Accenture's Global Financial Service Consumer Study ในปี 2562 พบว่า...

 

  • ผู้บริโภคกว่า 73% ยอมแลกข้อมูลส่วนตัวเพื่อสิทธิพิเศษในการซื้อสินค้าและบริการ
  • 4 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างระบุว่า ตนเองมีความกังวลอย่างยิ่งเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

 

ผู้บริโภค 60% มีความกังวลเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างทำงานจากที่บ้าน

จากการสำรวจของ Cisco ในปี 2563 ระบุว่า 60 % ของผู้ถูกสำรวจมีความกังวลเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองข้อมูลของตนในระหว่างการใช้นโยบายทำงานจากที่บ้าน โดยข้อกังวลหลัก 3 ข้อ นั้นได้แก่ การที่ข้อมูลไม่ได้ถูกใช้ตามวัตถุประสงค์ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งต่อให้กับหน่วยงานภายนอก และข้อมูลจะไม่ถูกลบหรือสามารถบ่งชี้ตัวตนของผู้เป็นเจ้าของข้อมูลได้  

"ในช่วงที่คอลเซ็นเตอร์ต้องทำงานจากที่บ้าน ดีแทคได้มีการพัฒนาระบบและยกระดับมาตรการความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าให้เข้มข้นยิ่งขึ้น เพื่อให้บริการลูกค้าอย่างราบรื่นต่อเนื่อง ภายใต้นโยบายด้านข้อมูลส่วนบุคคล"

 
สุดาทิพย์ แสงสืบ
หัวหน้าทีมลูกค้าพิเศษ dtac call center

Privacy by Design

 

 

ดีแทคยังมีการพิจารณาถึงเส้นทางการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กรโดยละเอียด ว่ามีการใช้ข้อมูลในที่ใดบ้างและเพื่อจุดประสงค์ใด

Privacy by Design

 

 

 
ซึ่งการขอความยินยอม (consent) จากลูกค้านั้นเป็นจุดเริ่มต้นและหัวใจสำคัญของหลักการด้านการปกป้องคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ดีแทคยังมีการพิจารณาถึงเส้นทางการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กรโดยละเอียด ว่ามีการใช้ข้อมูลในที่ใดบ้างและเพื่อจุดประสงค์ใด
ทั้งนี้ เพราะเราตระหนักดีว่า ลูกค้าเป็นเจ้าของข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการโทรคมนาคม และย่อมมีสิทธิสมบูรณ์ในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง เราเป็นเพียง ‘ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (data controller)’ เท่านั้น การจะทำการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเงื่อนไขที่ลูกค้าอนุญาต ภายใต้นโยบายความเป็นส่วนตัว
 
เรามีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer) ซึ่งทำงานเป็นอิสระจากส่วนงานอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน โดยมีหน้าที่ดังนี้
  • บังคับใช้นโยบายความเป็นส่วนตัว และการปฏิบัติตามกฎหมายด้านข้อมูลส่วนบุคคล
  • จัดฝึกอบรมเรื่องการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กร
  • บริหารจัดการความเสี่ยง เฝ้าระวัง และรายงานหากมีการละเมิดนโยบายความเป็นส่วนตัวหรือเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหล
 
 
 
ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้หมายถึงชุดข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ อายุ เพศ หรือข้อมูลติดต่อเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงข้อมูลที่มีความอ่อนไหว อาทิ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การแสดงออกทางเพศ ไปจนถึงข้อมูลทางพันธุกรรม โดยหลักการแล้วการนำข้อมูลเหล่านี้ไปประมวลผลไม่สามารถทำได้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายอนุญาต เช่น เจ้าของข้อมูลให้ความยินยอมโดยชัดแจ้ง เป็นความจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะที่สำคัญ
 
 
กฎหมายกำหนดให้ดีแทคสามารถเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าได้ในกรณีต่อไปนี้
 
  • กรณีที่ต้องปกป้องลูกค้าดีแทคหรือบุคคลอื่นจากความเสียหายหรืออันตราย
  • กรณีการปฏิบัติตามหมายศาล คำสั่งศาล หรือข้อบังคับทางกฎหมายอื่นๆ

“เราตระหนักดีว่า ลูกค้าเป็นเจ้าของข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการโทรคมนาคม และย่อมมีสิทธิสมบูรณ์ในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง เราเป็นเพียง ‘ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (data controller)’ เท่านั้น การจะทำการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเงื่อนไขที่ลูกค้าอนุญาต ภายใต้นโยบายความเป็นส่วนตัว” 

 
มนตรี สถาพรกุล
เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดีแทค